วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552




แนวทางการศึกษาต่อ

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

เหตุผล : เป็นมหาลัยที่ใฝ่ฝันเอาไว้ และพ่อแม่ก็สนับสนุน

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
“ ความรู้คู่ความดี ”

ข้อมูลทั่วไป

อักษรย่อ
มกท./BU
ชื่อภาษาอังกฤษ
Bangkok University
วันสถาปนา
พ.ศ. 2505
ประเภท
เอกชน
สีประจำสถาบัน
แสด - ม่วง

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เริ่มแรกนั้นได้รับการก่อตั้งในชื่อ “โรงเรียนไทยเทคนิค” เมื่อปี พ.ศ. 2505 โดยอาจารย์สุรัตน์ และอาจารย์ปองทิพย์ โอสถานุเคราะห์ ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “วิทยาลัยกรุงเทพ” และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “มหาวิทยาลัยกรุงเทพ” ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2527 โดยจัดการเรียนการสอนใน 9 คณะ รวมทั้ง วิทยาลัยนานาชาติ และบัณฑิตวิทยาลัย ครอบคลุมสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ปัจจุบัน เปิดดำเนินการสอน ใน 2 วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท กรุงเทพมหานคร และวิทยาเขตรังสิต จังหวัดปทุมธานี






ประวัติ


มหาวิทยาลัยกรุงเทพถือกำเนิดขึ้นมาจากการก่อตั้ง "โรงเรียนไทยเทคนิค" ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2505 โดยอาจารย์ ร.ต.อ.สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ (เจ้าของบริษัทในเครือโอสถสภา) โรงเรียนตั้งอยู่ในที่ดินในซอยบ้านกล้วยใต้ ริมถนนพระราม 4 (ปัจจุบัน คือ ที่ตั้งของวิทยาเขตกล้วยน้ำไท) ซึ่งในสมัยนั้นยังเป็นถนนลูกรังอยู่ แต่เป็นย่านค้าขายของเหล่าบรรดานายห้างต่างชาติรวมถึงท่าเรือสินค้าที่คลองเตยด้วย
ต่อมา มีการเปลี่ยนชื่อสถาบันใหม่เป็น "วิทยาลัยกรุงเทพ" หรือ Bangkok College เนื่องจาก ชื่อเดิมสร้างความสับสนต่อประชาชนทั่วไปที่คิดว่าเป็นโรงเรียนอาชีวศึกษา การจัดการศึกษาของโรงเรียนในสมัยแรก ๆ ไม่ได้รับการรับรองจากทางราชการไทย เนื่องจากเป็นวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกที่เปิดสอนในระดับปริญญา ผู้บริหารโรงเรียนจึงได้ขอความร่วมมือทางวิชาการจาก มหาวิทยาลัยแฟรลีดิกคินสัน (Fairleigh Dickinson University) จากสหรัฐอเมริกา ในการรับรองวิทยฐานะของปริญญา โดยในสมัยนั้นผู้ที่ศึกษาจบการศึกษาจากวิทยาลัยกรุงเทพจะได้รับปริญญา 2 ใบ คือ จาก วิทยาลัยกรุงเทพ และมหาวิทยาลัยแฟรลีดิกคินสันด้วย[1]
เมื่อวิทยาลัยกรุงเทพเป็นที่ยอมรับในสังคมไทยมากขึ้น การขยายตัวก็มีขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกัน ก็มีการเกิดขึ้นของวิทยาลัยเอกชนอีกหลาย ๆ แห่งไม่ว่าจะเป็น วิทยาลัยการค้า วิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ การแข่งขันของสถาบันการศึกษาเอกชนเริ่มมีมากขึ้น ผู้บริหารจึงมีโครงการที่จะขยายและยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย แต่ไม่ได้รับการอนุญาตจากทางราชการไทย จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2527 วิทยาลัยกรุงเทพจึงได้รับการยกฐานะจากทางราชการไทยให้เป็น "มหาวิทยาลัยกรุงเทพ" ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2527[2]
มหาวิทยาลัยกรุงเทพได้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว การขยายตัวนี้นำมาซึ่งการเปิดวิทยาเขตแห่งใหม่ที่รังสิต จังหวัดปทุมธานี ห่างจาก ท่าอากาศยานกรุงเทพ ไปตามถนนพหลโยธิน 14 กิโลเมตร ภายในพื้นที่กว่า 400 ไร่ ซึ่งผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยมีความหวังที่จะสร้างวิทยาเขตรังสิตให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีบรรยากาศเหมือนมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศอังกฤษ และสหรัฐอเมริกาที่ตั้งอยู่ชานเมือง มีสวน มีต้นไม้ มีทะเลสาบ และมีอาคารที่เป็นเอกลักษณ์ แต่ด้วยความห่างไกลความเจริญของรังสิตในสมัยนั้น มหาวิทยาลัยกรุงเทพวิทยาเขตรังสิตถูกขนานนามว่าเป็น กระท่อมปลายนา จากการเรียกของนักศึกษา








สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย


สัญลักษณ์มหาวิทยาลัยฯ (2527-2547)
ตราประจำมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยกรุงเทพใช้รูปเพชร เป็นตราประจำมหาวิทยาลัยมาโดยตลอดตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้ง แต่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบมาแล้วหลายครั้ง โดยในรูปแบบดั้งเดิมนั้น เรียกว่า เพชรในชัยพฤกษ์ ซึ่งเป็นตราที่ประกอบไปด้วยรูปเพชร และล้อมรอบด้วยช่อชัยพฤกษ์ แต่ปัจจุบัน (ตั้งแต่ปีการศึกษา 2548) มีการเปลี่ยนแปลงตรามหาวิทยาลัยใหม่ แต่ยังคงเป็นรูปเพชร ซึ่งออกแบบให้มีลักษณะความทันสมัยมากขึ้นและเพิ่มเติมสีสัน เพื่อให้สื่อความหมายต่างๆ มากขึ้นด้วย
ที่มาของตรามหาวิทยาลัยรูปเพชรนั้น แท้จริงแล้ว มีที่มาจากชื่อผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยคือ อาจารย์สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ คำว่า สุรัตน์ แปลว่า แก้วอันประเสริฐ ซึ่งก็คือ เพชร นั่นเอง การนำเพชรมาเป็นตรามหาวิทยาลัย จึงเป็นการให้เ กียรติ และเป็นการระลึกถึงผู้ก่อตั้งสถาบันการศึกษาแห่งนี้นั่นเอง นอกจากนั้น เพชรยังสื่อความหมายถึงคุณค่า และความแข็งแกร่ง และมหาวิทยาลัย เปรียบเสมือนสถานที่เจียรไนนักศึกษา ให้กลายเป็นเพชรที่มีเกียรติ มีคุณค่า มีความมั่นคงแข็งแกร่ง และเป็นที่ยอมรับในสังคม
สีประจำมหาวิทยาลัย
ที่มาของสีสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยนั้น จากหลักฐานและบันทึกทางประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัย แต่เดิมมหาวิทยาลัยใช้ สีเขียวอมฟ้า เป็นสีประจำมหาวิทยาลัย ดังจะเห็นได้จาก ปกเสื้อครุยของบัณฑิตรุ่นแรก ๆ ที่เป็นสีเขียวอมฟ้า และจากเพลงมาร์ชของมหาวิทยาลัย ที่ยังคงมีเนื้อร้องว่า ธงเขียวเชิดให้เด่นไกลนานเนาว์ มาจนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบัน ได้เปลี่ยนมาใช้ สีม่วง และ สีแสด เป็นสีประจำมหาวิทยาลัย โดยการเปลี่ยนแปลงสีประจำมหาวิทยาลัยนั้น เพื่อเป็นเกียรติกับสองบูรพาจารย์ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย เนื่องจากสีม่วงเป็นสีประจำวันเสาร์ และสีแสดเป็นสีประจำวันพฤหัสบดี
ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย
ต้นชัยพฤกษ์ เป็นต้นไม้มงคลที่ใช้ในพิธีการมงคลตามความเชื่อของคนไทย นำมาใช้เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงปลูกต้นชัยพฤกษ์ ณ บริเวณด้านหน้าอาคารฝั่งทิศใต้ ของอาคารหอสมุดสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ นับเป็นพระกรุณาธิคุณและเป็นมิ่งขวัญของชาวมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ที่ต้นชัยพฤกษ์แห่งมิ่งมงคลนี้ จะหยั่งรากลึกลงในหัวใจของชาวมหาวิทยาลัยกรุงเทพสืบต่อไป
เพลงประจำมหาวิทยาลัย
เพลงประจำมหาวิทยาลัย ที่ใช้ในพิธีการและโอกาสต่างๆ นั้น มีทั้งเพลงมาร์ช และเพลงความรู้คู่ความดี เป็นเพลงที่ใช้มาตั้งแต่มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัย ลักษณะคำร้อง ทำนอง และแนวดนตรี จึงเป็นไปในลักษณะย้อนยุค
คณะและวิทยาลัย
บัณฑิตวิทยาลัย
คณะบริหารธุรกิจ
คณะบัญชี
คณะนิเทศศาสตร์
คณะนิติศาสตร์
คณะมนุษยศาสตร์
รุยวิทยฐานะ
ครุย หรือ Gown เป็นเครื่องแต่งกายแสดงวิทยฐานะของผู้สวมใส่ และแสดงความเป็นบัณฑิตแห่งสถาบัน ใช้สำหรับในพิธีการสำคัญของมหาวิทยาลัย เช่น พิธีไหว้ครู พิธีประสาทปริญญาบัตร เป็นต้น ชุดครุยวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ใช้รูปแบบเสื้อคลุมแบบยุโรปสมัยกลาง โดยเป็นเสือคลุมยาวคลุมเข่า สีดำ สำหรับบัณฑิตระดับปริญญาโทขึ้นไปมีแถบกำมะหยี่สีดำที่สาบเสื้อและแขนเสื้อทั้งสอง
ปกเสื้อครุย หรือ Hood เป็นผ้าสามเหลี่ยมที่คล้องคอโดยให้ชายปกห้อยไปทางด้านหลัง ปกเสื้อครุยจะเป็นผ้ากำมะหยี่สีต่างๆ ขลิบด้วยสีส้มซึ่งเป็นสีประจำมหาวิทยาลัย โดยปกเสื้อครุยจะมีสีสันที่ต่างกันไปตามสีของคณะ ซึ่งมีสีและควาหมายดังนี้
คณะบัญชี สีฟ้า ซึ่งเป็นสีแห่งทะเล สัญลักษณ์แห่งเส้นทางหลักของการค้าขายในอดีตจนปัจจุบัน
คณะบริหารธุรกิจ สีแดง ซึ่งเป็นสีสัญลักษณ์แห่งความมุ่งมั่นเพื่อเป้าหมายทางธุรกิจ
คณะนิเทศศาสตร์ สีน้ำเงิน ซึ่งเป็นสีของน้ำหมึก สัญลักษณ์แห่งการสื่อสารและการพิมพ์
คณะนิติศาสตร์ สีม่วง ซึ่งเป็นสีของเสื้อคลุมของผู้พิพากษาในสมัยกลาง สัญลักษณ์แห่งความยุติธรรม
คณะมนุษยศาสตร์ สีเหลืองทอง ซึ่งเป็นสีสัญลักษณ์แห่งความเจริญรุ่งเรืองของอารยธรรมมนุษย์
คณะเศรษฐศาสตร์ สีเขียวเข้ม ซึ่งเป็นสีสัญลักษณ์ของการเกษตร อันเป็นเศรษฐกิจหลักของประเทศ
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สีน้ำตาล ซึ่งเป็นสีของดิน ต้นกำเนิดของสรรพสิ่งบนพื้นโลก
คณะศิลปกรรมศาสตร์ สีชมพูกลีบบัว ซึ่งเป็นสีของดอกบัวที่พ้นน้ำ ตามหลักธรรมคำสอนเรื่องบัวสี่เหล่าของพระพุทธเจ้า
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สีแดงเข้ม หรือสีเลือดหมู ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความกล้าหาญและเป็นหนึ่งเดียวกัน
วิทยาลัยนานาชาติ ใช้สีตามหลักสูตรหรือสาขาวิชาในคณะที่สังกัด[3]
วิทยาเขต
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดดำเนินการสอนใน 2 วิทยาเขต ได้แก่
วิทยาเขตกล้วยน้ำไท
ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 119 ซอยสุขุมวิท 40 (ซอยบ้านกล้วยใต้) แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 25 ไร่ 3 งาน 49 ตารางวา เป็นสถานที่เรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 ภาคปกติ นักศึกษาวิทยาลัยนานาชาติทุกชั้นปี นักศึกษาปริญญาโทและเอก และนักศึกษาภาคพิเศษ สถานที่ทำการของสำนักงานอธิการบดี วิทยาลัยนานาชาติ บัณฑิตวิทยาลัย คณะวิชาต่างๆ ห้องปฏิบัติการ ห้องเรียน ห้องสัมมนา สำนักหอสมุด ศูนย์คอมพิวเตอร์ศูนย์กีฬาในร่มและหน่วยงานบริการอื่นๆ
วิทยาเขตรังสิต
ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 9/1 หมู่ 5 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ห่างจากท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมืองไปทางทิศเหนือประมาณ 14 กิโลเมตร มีพื้นที่ 441 ไร่ 1งาน 67 ตารางวา เป็นสถานที่ศึกษาของนักศึกษาในระดับปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ และนักศึกษาชั้นปีที่ 1-2 ของคณะบัญชี คณะมนุษยศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากนี้ ยังเป็นสถานที่ตั้งของสนามกีฬา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ หอสมุดสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ และพิพิธภัณฑสถานเครื่องถ้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการศึกษาวิจัยเครื่องถ้วยโบราณที่สำคัญและสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
วิทยาเขตรังสิต ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 14001 ทั้งระบบจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ซึ่งนับเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับรองมาตรฐาน ISO 14001 ทั้งระบบ[4]
ความสัมพันธ์กับสถาบันต่างประเทศ
มหาวิทยาลัยมีความสัมพันธ์กับสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ทั่วโลกเป็นอย่างดี นำมาซึ่งความร่วมมือและการสนับสนุนทางด้านวิชาการรวมทั้งด้านวัฒนธรรมในโครงการต่างๆ เช่น โครงการแลกเปลี่ยนคณาจารย์และนักศึกษา โครงการศึกษาดูงาน ตลอดจนการพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านการบริหารมหาวิทยาลัยระหว่างผู้บริหารระดับสูงมหาวิทยาลัยกรุงเทพเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ที่ได้รับเชิญเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมอธิการบดีระหว่างประเทศ (International of University Presidents IAUP) ซึ่งในปี 2527 ดร.เจริญ คันธวงศ์ อธิการบดีกิตติคุณ ได้รับเลือกเป็นเลขาธิการ และดร.ธนู กุลชล อธิการบดีได้รับเลือกเป็นผู้ช่วยเลขาธิการ โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 3 ปี
ในด้านการพัฒนาคุณภาพเกี่ยวกับการเรียนการสอนและบุคลากร หรืออาจารย์ผู้สอน มหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนในด้านวิชาการจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงดีเด่นของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ อาทิ
ประเทศสหรัฐอเมริกา
California State University, Sacramento
Fairleigh Dickinson University
Interlink Language Ceneter
Ohio University
Pittsburg State University
University of Massuchusetts-Amherst
University of Montana
University of Nebraska-Lincoln
University of New Orleans
Southern Illinois University
ประเทศญี่ปุ่น
Dohto University
Kansai Gaidai University
Osaka International University
Osaka University of Economics
เครือรัฐออสเตรเลีย
Deakin University
The University of Canberra
สาธารณรัฐฟินแลนด์
Mikkeli Polytechnic
Satakunta Polytechnic
ราชอาณาจักรนอร์เวย์
Alesund University College
Hedmark University College
สาธารณรัฐเกาหลี
Hannam University
Sungkyunkwan University
สาธารณรัฐประชาชนจีน
Beijing Polytechnic University
Hubei Correspondence University
สาธารณรัฐออสเตรีย
Management Center Innsbruck
Steyr School of Management, University of Applied Sciences
สหรัฐเม็กซิโก
The Instituto Technological Y De Estudios Superiores De Monterrey
สาธารณรัฐฮังการี - ฝรั่งเศส
Ecole Superieure Des Sciences Commerciales D'Angers (ESSCA)
ราชรัฐโมนาโค
University of Southern Europe-Monaco
ราชอาณาจักรกัมพูชา
Norton University
ประเทศมาเลเซีย
Universiti Utara Malaysia
ราชอาณาจักรสวีเดน
Malardalen University
สถานที่สำคัญ
หอพระพุทธสุรัตนมุนี (หลวงพ่อเพชร) - เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสุรัตนมุนี ปางนาคปรก พระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย ลักษณะเป็นศาลาทรงไทยตรีมุข ก่ออิฐถือปูน ประกอบด้วยลวดลายไทยอย่างวิจิตรงดงาม องค์พระหล่อด้วยสำริด รมดำทั้งองค์ ฐานพญานาคประดับด้วยกระจกสี ด้านหน้าหอพระ มีแผ่นศิลาจารึกพระพุทธโอวาทของพระพุทธเจ้า
หอสมุดสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ (Surat Osathanugrah Library) - เป็นหอสมุดกลางของมหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ที่วิทยาเขตรังสิต เป็นอาคารสูง 5 ชั้น ให้ชื่อเพื่อเป็นเกียรติแด่ร้อยตำรวจเอกสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย
อาคารนิเทศศาสตร์คอมเพล็กซ์ ปองทิพย์ โอสถานุเคราะห์ - เป็นกลุ่มอาคารสำหรับการศึกษาทางด้านนิเทศศาสตร์ และการสื่อสารมวลชน ตั้งอยู่ใกล้กับทะเลสาบ ภายในมหาวิทยาลัยที่วิทยาเขตรังสิต
พิพิธภัณฑสถานเครื่องถ้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ - จัดตั้งขึ้นเนื่องในโอกาสที่มหาวิทยาลัยมีอายุครบรอบ 40 ปี ซึ่งอาจารย์สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย ได้กรุณามอบศิลปโบราณวัตถุ จำนวนกว่า 2,000 รายการ เพื่อให้เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ของนักเรียน นักศึกษา ตลอดจนประชาชนทั่วไป โดยห้องจัดแสดงอยู่บริเวณชั้นใต้ดินของหอสมุดสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 1,872 ตารางเมตร แบ่งออกเป็นห้องนิทรรศการถาวร ห้องนิทรรศการพิเศษ คลังพิพิธภัณฑสถานเพื่อการศึกษา สำนักงาน และร้านจำหน่ายของที่ระลึก
โรงละครแบล็กบ็อกซ์ - เป็นโรงละครแบบบรอดเวย์ ที่มีลักษณะเฉพาะคือ ทุกสิ่งทุกอย่างในโรงละครเป็นสีดำ สร้างด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ใช้เป็นสถานที่แสดงละครเวทีของนักศึกษา
บียู เรสโตรองต์ - เป็นภัตตาคารจำลอง ของภาควิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ตั้งอยู่ที่อาคาร ศูนย์ประชาสัมพันธ์ (ประตู 1) วิทยาเขตกล้วยน้ำไท ให้บริการเฉพาะอาหารกลางวัน ทุกวันอังคาร-วันเสาร์ ระหว่างเวลา 11.00-14.00 น. ยกเว้นช่วงสอบ และปิดภาคการศึกษา วัตถุประสงค์ที่สำคัญในการเปิดดำเนินการ คือ ให้นักศึกษาได้มีโอกาสนำความรู้มาปฏิบัติจริง ได้เรียนรู้ และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงาน ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ เหนือสิ่งอื่นใด นักศึกษาจะต้องเรียนรู้ และเข้าใจว่า จะต้องให้บริการอย่างสุดความสามารถ
หอศิลป์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ - เป็นสถานที่จัดแสดงผลงานทางศิลปะต่างๆ ทั้งศิลปินอาชีพ ศิลปินอิสระ นักศึกษาทั้งในและต่างประเทศ
บุคคลที่มีชื่อเสียงจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
รายนามบุคคลจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
แทมมารีน ธนสุกาญจน์ นิติศาสตร์บัณฑิต รุ่นที่ 33
ดนัย อุดมโชค
ธัญญาเรศ รามณรงค์ นิเทศศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 32
สรยุทธ สุทัศนะจินดา นิเทศศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 22
แอน ทองประสม นิเทศศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 33

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น