วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

สถานที่ท่องเที่ยว







ประวัติดอยอ่างขาง
อ่างขาง เป็นชื่อตำบลๆหนึ่งตั้งอยู่บนเทือกเขาตะนาวศรี ติดกับเขตแดนพม่า คือ ห่างกันเพียง 5 กิโลเมตรเท่านั้น สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,400 เมตร อยู่ในเขตอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
อ่างขาง ภาษาทางเหนือหมายถึง อ่างรูปสี่เหลี่ยม ลักษณะของดอยอ่างขางนั้น เป็นดอยที่มีรูปร่างของหุบเขายาวๆ ล้อมรอบไปด้วยเขาสูงทุกด้าน ตรงกลางของอ่างขาง เดิมเป็นเขาสูงดังเช่นที่เห็นทั่วไป ในบริเวณใกล้เคียง แต่เนื่องจากเป็นเขาหินปูน เมื่อถูกน้ำฝนชะก็จะค่อยๆละลายเป็นโพรงแล้ว ยุบตัวลงกลายเป็นหลุม ในอดีต ดอยอ่างขางเคยมีหมู่บ้านชาวเขา ทั้งม้ง,เย้าและมูเซอ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และพื้นที่สามารถปลูกฝิ่นได้งาม เนื่องจากดินมีโครงสร้างที่เหมาะสมลักษณะอากาศ และภูมิประเทศก็เอื้ออำนวย ดอยอ่างขางมีอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี โดยเฉพาะตอนกลางคืน จะหนาวเย็นจัดที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ประกอบกับมีการทำไร่เลื่อนลอยชาวไทยภูเขา ในที่สุดก่อให้เกิดผลกระทบขึ้น เมื่อป่าไม้บนภูเขาเหลือน้อยฝนตกลงมา น้ำฝนก็ชะหน้าดินไหลลงสู่หุบเขาดิน ไม่สามารถอุ้มน้ำเอาไว้ได้ ทำให้ธาตุอาหารในดินลดน้อยลง เมื่อความอุดมสมบูรณ์ของดินหมดไป ชาวไทยภูเขาก็หาพื้นที่ทำไร่ใหม่ต่อไป ซึ่งได้ส่งผลให้ดอยอ่างขาง มีสภาพเป็นดอยหัวโล้น มาเป็นระยะเวลาอันยาวนานจากอดีต



สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
จากการเสด็จพระราชดำเนินของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ไปเยี่ยมพสกนิกรและชาวไทยภูเขาหลายหมู่บ้าน ทรงทอดพระเนตรเห็นว่า ชาวเขาส่วนใหญ่ปลูกฝิ่นแต่ยากจน ทั้งยังทำลายทรัพยากรป่าไม้ต้นน้ำลำธาร ซึ่งเป็นแหล่งสำคัญต่อระบบนิเวศโดยรวมของประเทศชาติ ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติในอนาคตได้ ดอยอ่างขางก็เกิดปัญหาดังกล่าวที่จำเป็นต้องเข้ามาดำเนินการแก้ไขด้วยเช่นกัน
ในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นจำนวน 1,500 บาท เพื่อซื้อที่ดิน และไร่จากชาวเขา ในบริเวณดอยอ่างขางส่วนหนึ่ง จากนั้นก็ทรงมอบหมายให้หม่อมเจ้าภีศเดชรัชนี ดำเนินการใช้เป็นสถานีทดลอง ปลูกไม้เมืองหนาว ให้เป็นตัวอย่างแก่ชาวเขา เพื่อชาวเขาจะได้นำวิธีการไปใช้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังที่ ทรงพระราชทานไว้ว่า “ให้ช่วยเขาช่วยตัวเอง”
งานพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวเขา และพัฒนาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ได้เริ่มต้นขึ้นด้วย โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขาตั้งแต่เมื่อ ได้โปรดเกล้าฯจัดตั้ง โครงการหลวงเป็นโครงการส่วนพระองค์ เมื่อปีพ.ศ. 2512 การดำเนินงานของดอยอ่างขาง ก็ได้พัฒนาเป็นสถานีเกษตรหลวงอ่างขางกลางปีพ.ศ. 2514 ไต้หวันได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาศึกษาสภาพพื้นที ่และความเหมาะสมในการปลูกไม้ผลเมืองหนาว หลังจากนั้นก็ได้ส่งเชื้อเห็ดหอม และพันธุ์พืชถวายโดยไม่คิดมูลค่า เพื่อให้ทรงนำมาใช้ประโยชน ์ตามพระราชประสงค์ในโครงการหลวง โดยเฉพาะการเพาะเห็ดหอมนั้น เมื่อนำมาเพาะกับไม้ก่อ ซึ่งเป็นไม้ท้องถิ่นของภาคเหนือก็จะได้ผลผลิตเห็ดหอมสดๆ ส่งออกตลาดได้เป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันสถานี เกษตร หลวง อ่าง ขาง ได้ ทดลอง ปลูก ไม้ ผล เมือง หนาว โดย เริ่ม จาก การ ปลูก แอปเปิ้ล และ พันธุ์ ไม้ อื่น ๆ ตาม มา
วันนี้ดอยอ่างขางมีสีสันของสภาพพื้นท ี่ที่ได้รับการพัฒนาด้วยการ ใช้พื้นที่อย่างเหมาะสมบางส่วน ที่เคยโล่งเตียนอันเป็นผลมาจากการ ถูกทำลายในอดีต ก็ได้กลับกลายเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ในส่วนพื้นที่ที่เคยเป็นป่าก็ได้รับการฟื้นฟู ทั้งด้วยการปลูกป่าด้วยไม้โตเร็ว และปล่อยทิ้งพื้นที่ที่เคยเป็นป่าให้เกิดเป็นป่าใหม่ โดยวิธีธรรมชาติ
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ใช้เป็นสถานที่ทดลองค้นคว้าวิจัยพืชผลเมืองหนาว ที่สามารถปลูกได้ดีในพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อนำผลการทดลองค้นคว้า และวิจัยไปส่งเสริมให้ชาวไทยภูเขา ในพื้นที่ไปปลูก เพื่อทดแทนการปลูกฝิ่นเพื่อ ชาวเขาจะได้ตั้งหลักแหล่งที่อยู่ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และต้นน้ำลำธาร
ดอยอ่างขางนับได้ว่าเป็นพื้นที่“ที่สูง”เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของประเทศแหล่งหนึ่ง และเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีแนวพระราชดำริให้การพัฒนาต่างๆในพื้นที่ จะต้องสอดคล้อง กับการอนุรักษ์พื้นที่นั้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก บนภูเขา เพื่อทดน้ำมาใช้ในการเกษตรกรรม หรือการปลูกป่าฟื้นฟูป่าธรรมชาติ
สถานที่ท่องเที่ยว
บนดอยอ่างขาง นอกจากมีสถานีเกษตรหลวงอ่าวขางแล้ว ยังมีหมู่บ้านชาวเขาที่ยังคงมีวิถีชีวิตน่าสนใจ และปลูกพืชผลเมืองหนาวให้ชมเช่นกัน เช่น มูเซอดำ บ้านขอบด้ง ห่างจากสถานี 3 กิโลเมตร ชาวปะหล่อง บ้านนอแล ติดชายแดนพม่า ห่างจากสถานีประมาณ 8 กิโลเมตร ชาวจีนฮ่อ บ้านหลวง ระยะทางห่างจากสถานี 6 กิโลเมตร ส่วนที่บ้านคุ้มคึกคักที่สุด มีร้านอาหาร และที่พักบริการด้วย บ้านคุ้มอยู่บริเวณด้านหน้าสถานี
ดอยอ่างขางเหมาะสำหรับการเที่ยวชมธรรมชาติ และศึกษาการปลูกพืชผลเมืองหนาว ตั้งแต่เดือนตุลาคม–กุมภาพันธ์ เนื่องจากอากาศหนาวเย็น และดอกไม้ดอกนานาชนิดออกดออกสวยงามสะพรั่งไปทั้งดอย สำหรับสถานีเกษตรหลวงอ่างขางการเข้าชมเป็นหมู่คณะต้องติดต่อล่วงหน้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น